ฟังให้ชัด! อัยการไม่เร่งรัด DSI จับพระธัมมชโย

คมชัดจากปากอัยการ

ทำไมจึงใช้คำว่า ? 

ควรสั่งฟ้องพระธัมมชโย 

และไม่เร่งรัด พนง.สอบสวน!


Click ที่ภาพเพื่อรับชมวีดีโอ
นายชาติพงษ์ จีระพันธุ
รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ

".. มีการแบ่งกลุ่มผู้ต้องหา
เป็น 2 กลุ่ม พนักงานสอบสวน
ส่งตัวผู้ต้องหามาให้พนักงาน
อัยการคือ

ได้ตัวมาแล้ว!

สอบสวนผู้ต้องหาเหล่านี้แล้ว 


ในส่วนที่ส่งตัวมาแล้วพนักงานอัยการ
สามารถสั่งฟ้องได้ คือสั่งฟ้องเลยคือ
คุณศุภชัย คุณศรัณยา คุณทองพิน
ทั้ง 3 คนนี่ถือว่ามีตัวพนักงานอัยการ
ยื่นฟ้องต่อศาลได้ทันทีแล้วก็นัด 3 คน
มาวันที่ 30 เพื่อมาฟังคำสั่งแล้วก็จะ
ยื่นฟ้องอันนั้นเป็นขั้นตอนของผู้ต้องหา
ที่มีตัว

ผู้ต้องหาที่ไม่มีตัว !


หมายความว่ารู้ตัวแต่เรียก
หรือจับตัวยังไม่ได้ก็คือได้แก่

พระเทพญาณมหามุนี 
ผู้ต้องหาที่ 2 

และนางสาวศศิธร โชคประสิทธิ์ 
ผู้ต้องหาที่ 5 

ทีนี้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญานี่ หลักการรับฟังพยาน
หลักฐานในทางอาญาจะต้อง

ฟังความทั้ง 2 ข้าง

ในกระบวนการยุติธรรม

จะต้องฟังความ 2 ข้างเสมอ!


ทั้งชั้นพนักงานสอบสวน 
อัยการ 
แล้วก็ศาล 

กฎหมายจะวางหลักให้เราว่าคือ
ต้องฟังทั้งผู้กล่าวหา และฟังทั้ง
จำเลยผู้ถูกกล่าวหา ขณะนี้ต้อง
ยอมรับว่ายังไม่ได้ตัวผู้ต้องหา
ที่ 2  และ 5

อัยการจึงมีแค่ความเห็นนะครับ
จะสังเกตว่าข้อ 1 และข้อ 2
จะเขียนต่างกัน!

ข้อ 1 
เขียนว่าพนักงานมีคำสั่งเลย 
นะครับ สั่งฟ้อง 1, 3, 4 

ส่วน 2 
นี่เป็นแค่.. มีความเห็น 
"ควรสั่งฟ้อง"

อันนี้สั่งตามประมวลกฎหมายพิจารณา
ความอาญาเลยนะครับ มีความเห็น
ควรสั่งฟ้องไว้!

หมายความว่ายังไง? 

หมายความว่าในชั้นสอบสวนขณะนี้
เราฟังตามคำของผู้กล่าวหาแล้วทั้ง
ที่พนักงานสอบสวน DSI รวบรวมมา
ทั้งคุณธรรมนูญ อัตโชติ ผู้กล่าวหา
กล่าวหาแล้วนี่พอฟังได้ว่าพยายาน
หลักฐานพอที่จะฟ้องได้เราจึงมีความ
เห็นควรสั่งฟ้อง

หมายความว่ายังไง? 

หมายความว่าเมื่อพนักงานอัยการ
มีความเห็นควรสั่งฟ้องก็จะสั่งพนัก
งานสอบสวนหรืออธิบดีกรมสอบ
สวนคดีพิเศษนี่ไปจัดการให้ได้ตัว
ผู้ต้องหาที่ 2 และ 5 มาให้ได้ภาย
ในอายุความ 15 ปี นับแต่วันกระทำ
ความผิด

ความผิดนี้เริ่มเมื่อเดือน มกราคม
ปี 2552 ก็นับไป 15 ปี พนักงาน
สอบสวนมีหน้าที่ไปนำตัวผู้ต้องหา
ทั้ง 2 และ 5 มาส่งตัวให้พนักงาน
อัยการ ถึงจะยื่นฟ้องศาลได้

ถ้าไม่มีตัวนี่ พนักงานอัยการ
จะไม่สามารถฟ้องศาลได้ 
แล้วเมื่อได้ตัวมาก็จะต้อง
ทำการสอบสวนเพื่อให้เขา
แก้ตัว แก้ข้อกล่าวหาของเขา

อันนี้เป็นขั้นตอนตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

เมื่อเขาแก้ตัวแล้ว เหลือพยาน
หลักฐานบางส่วนพนักงานอัยการ
จะมาพิจารณาอีกครั้งว่า ไอ้ความ
เห็นควรสั่งฟ้องนี่ตอนนี้นะครับ

มันถูกต้องไหม? 

จะต้องเปลี่ยนแปลงไหม? 

ถ้าถูกต้องแล้วพนักงานอัยการ
จะออกความเห็น " สั่งฟ้อง"
ยืนยันความเห็นอีกทีหนึ่ง
แต่ถ้าไม่ถูกต้องมีพยานหลัก
ฐานใหม่ หรือมีข้อเท็จจริงใหม่
ที่ปรากฏขึ้นมานี่ อาจจะสั่ง
" ไม่ฟ้องก็ได้ " (นาทีที่ 3.30)

อันนี้พนักงานอัยการสามารถ
ที่จะได้ดุลพินิจอีกครั้งหนึ่ง
อันนี้สั่งตาม ป.วิ อาญา เลยนะครับ
เพราะฉะนั้นต้อง

ทำความเข้าใจกันก่อนว่า

ในชั้นนี้เป็นความเห็นแค่

ความเห็น " ควรสั่งฟ้อง "


เพราะมันจะต่างจากข้อ 1 
กลุ่มผู้ต้องหาจะต่างกัน

เพราะฉะนั้นนี้ก็หมายความว่า
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ไปนำตัว
ผู้ต้องหามา

จะได้ตัวเมื่อไหร่?


อันนี้เป็นดุลพินิจ เป็นอำนาจ
หน้าที่ของพนักงานสอบสวน
กฎหมายให้อำนาจในการเข้าไป
จับกุมตรวจค้น นำตัวมาส่งให้
พนักงานอัยการ

ถามว่าเมื่อไหร่ ? 

เราไม่ได้บอกพนักงานสอบสวน

ไม่เร่งรัด !


เราเพียงแต่บอกว่า..
(นาทีที่ 4.10)

ให้จัดการให้ได้ตัวมา

ภายในอายุความ!


เพราะถ้ามันขาดอายุความ
ก็ทำอะไรเขาไม่ได้ เพราะฉะนั้นนี่
เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน 
และอำนาจหน้าที่ของเขาที่จะ
ทำต่อไปนะครับ .."




คำถามจากสังคม?

หัวใจพวกคุณทำด้วยอะไร? 

ในเมื่ออายุความมีเวลา 15 ปี

เพราะเหตุใด?

จึงมีความกระเหี้ยนกระหือรือ
เร่งรัดขีดเส้นตายจะบุกจับ
พระชราอาพาธที่ทำความดี
มาตลอดชีวิต

ในห้วงเวลาที่ชาวไทยทั้งประเทศ
กำลังโศกเศร้าถวายความอาลัย
ในหลวงรัชกาลที่ 9 

อีกทั้งกำลังจะทำพิธีบำเพ็ญกุศล
ปัญญาสมวาร (ครบรอบ 50 วัน )
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่
พระองค์ฯ ในวันที่ 2 ธันวาคม 2559


นี้คือความปกติ..อย่างนั้นหรือ?





เรียบเรียงโดย คนธรรมรำพัน
ขอบคุณภาพประกอบจาก
TNN , ทีนิวส์ , ทวิตเตอร์ ivader


เพราะความลับไม่มีในอากาศ
>Talk--secret.blogspot.com
ฟังให้ชัด! อัยการไม่เร่งรัด DSI จับพระธัมมชโย ฟังให้ชัด! อัยการไม่เร่งรัด DSI จับพระธัมมชโย Reviewed by สารธรรม on 02:49 Rating: 5

1 ความคิดเห็น:

  1. ตับแตกยังไม่เคลียร์เลย บ้านเมืองไม่ใช่ประชาธิปไตย ระบบนี้น่ากลัวจริง

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.