Post เด่นประเด็นเด็ด ! ตอน ใครตีความจนไม่ได้ความ พ.ร.บ.สงฆ์ ม.7
จะตีความอย่างไรก็ได้
แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าท่านมี
หน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่?
และเห็นว่าขั้นตอนการเสนอชื่อ
สมเด็จพระสังฆราชว่าต้องเริ่มต้น
ที่นายกรัฐมนตรี และให้ มส.เห็นชอบ
ก่อนที่นายกฯจะนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ
ซึ่งการพิจารณาของผู้ตรวจการฯ
"ไม่ได้ดูว่าใคร ?
จะเป็นผู้เหมาะสม หรือไม่เหมาะสม "
ดูเฉพาะกระบวนการ
ดังนั้นยืนยันว่าสิ่งที่ผู้ตรวจการฯ
ดำเนินการไปถูกต้องแล้ว
เพราะได้มีการพิจารณากลั่นกรอง
ข้อมูลด้วยความรอบคอบ "
นายรักษเกชา แฉ่ฉาย
เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม
ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีที่คณะกรรมการ
กฤษฎีกาได้ตีความว่าขั้นตอนการเสนอชื่อ
สมเด็จพระสังฆราชของมหาเถรสมาคม(มส.)
ไม่ขัดมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์
1.
" มส. มีอำนาจ เป็นผู้เริ่มต้นในการ
พิจารณาผู้ที่จะได้รับการสถาปนา
เป็นสมเด็จพระสังฆราช ตาม ม.7
แห่ง พ.ร.บ. สงฆ์ 2505 (2535)
ตรงนี้หมายถึง อำนาจการคัดเลือก
ผู้ที่จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น
สังฆราชนั้นก็คือ มส.เป็นผู้เริ่ม
ตั้งต้น เป็นปฐม ..
"ไม่ใช่เริ่มจากนายกรัฐมนตรี "
นี้เป็นข้อที่ 1 ที่ตีความออกมาที่
ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับการ
ตีความของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ที่เคยรับเรื่อง
จากคุณไพบูลย์ นิติตะวัน
แล้วนำมาตีความ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่
อำนาจหน้าที่ของตนเรื่อง
"อำนาจว่า ใครจะเป็นผู้เริ่มต้นก่อน
ระหว่าง มส. และนายกรัฐมนตรี
ตรงนี้ถือว่า "ยุติ" ทันที.! "
2.
" มส. มีมติเป็นเอกฉันท์ในการเสนอนาม
ผู้ที่ได้รับคัดเลือกที่จะขึ้นเป็นสมเด็จ
พระสังฆราชในครั้งนี้..
"ไม่ขัดต่อกฎหมาย"
นั้นหมายถึงว่า มติ มส. เมื่อเดือน
มกราคม 2559 ที่ผ่านมาเพื่อเสนอให้
สมเด็จช่วง วัดปากน้ำขึ้นเป็นสมเด็จ
พระสังฆราชนั้น..
ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย คือถูกต้อง
ไม่ผิดกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น "
นี้เป็นข้อที่ 2 ที่กฤษฎีกาได้ตีความ
ออกมา และก็ตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง
กับการตีความ ของผู้ตรวจการ
แผ่นดิน ที่ตีความออกมาว่า..
"มติ มส. ครั้งนี้ขัดต่อกฎหมายใน ม.7"
3.
" รัฐบาลไม่จำเป็นต้องปฎิบัติตาม
ในข้อเสนอแนะ ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
เป็นการชี้ชัดในความผิด และประจาน
ถึงความดันทุลังจนเกิดความผิดพลาด
มหันต์ ที่ไม่รู้อำนาจ และหน้าที่ของตนเอง
ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ที่จริงข้อนี้กฤษฎีกา ไม่ต้องตีความ
ออกมาก็ได้ เพราะรัฐบาลเขาคงรู้หน้าที่
ตนเองและก็รู้อำนาจหน้าที่ ของหน่วยงาน
ในสังกัดของรัฐบาลตนเองอยู่แล้ว "
ผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะต้องออกมา
รับผิด และรับชอบ ในผลงานอัปยศ
ครั้งนี้ของตนเอง โดยไม่สามารถ
ปฎิเสธได้ และอาจถึงขั้น
"เป็นคดีอาญา จากทางสงฆ์ก็ได้ "
ในส่วนรัฐบาล ก็จะถูกสังคมจ้องมองว่า
" หน่วยงานในสังกัด ที่ใช้อำนาจเกิน
หน้าที่สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้น
วงกว้างขนาดนี้จะพิจารณาและมี
มาตรการลงโทษอย่างไร "
เจ้าคุณเบอร์ลิน
14 ก.ค. 2559
Cr. ขอบคุณข้อมูลจาก
Fb เจ้าคุณเบอร์ลิน , มติชนออนไลน์
บทความแนะนำกรณีธรรมกาย
เพราะความลับไม่มีในอากาศ
Post เด่นประเด็นเด็ด ! ตอน ใครตีความจนไม่ได้ความ พ.ร.บ.สงฆ์ ม.7
Reviewed by สารธรรม
on
21:09
Rating:
สังคมกำลังรอดูอยู่ครับ
ตอบลบ