ทฤษฎีตัดแปะ ทำน้อยได้มาก ทำมากได้น้อยจริงหรือ?
เมื่อทำบุญแล้ว
จะได้บุญมาก หรือได้บุญน้อย ต้องดูที่องค์ประกอบของการทำบุญ ?พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนว่าการทำบุญนั้นมี องค์ประกอบ ซึ่งก็จะต้องไปดูว่าเราได้ทำตามองค์ประกอบนั้นมากน้อยแค่ไหน แล้วจึงจะเป็นตัวบอกว่าเราจะได้ บุญมาก หรือได้บุญน้อย
โดยหลักๆ จะมีอยู่
3 องค์ประกอบคือ
1.เรื่องบุคคล ก็แยกเป็น ผู้ให้-ผู้รับ ซึ่งถ้าเกิดผู้ให้เป็นผู้ที่มีคุณงามความดีในตัวมาก ความจริงพระองค์พูดไปถึงขนาดหมดกิเลสส่วนผู้รับก็แบบเดียวกัน คือมีความบริสุทธิ์สะอาดมากถ้าหมดกิเลสด้วยกันทั้งคู่ก็ยิ่งดี
2 เรื่องเจตนา ความตั้งใจทุ่มเท ความมุ่งมั่นว่าฉันอยากจะทำ เพราะหวังจะให้เกิดบุญกุศลกับตัวเอง จะได้มาขัดเกลาใจตัวเอง
3.เรื่องวัตถุทาน เราหามาได้ด้วยความบริสุทธิ์ไหม เป็นสัมมาอาชีวะไม่ใช่ไปปล้นไปคอรัปชั่นมา
ถ้าครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ก็ได้บุญกุศลเต็มที่สำหรับคนๆ นั้น ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าถ้าเราไปเจอผู้รับที่ดี เช่น เป็นพระที่ท่านมีศีลมีธรรม โอกาสที่เราจะได้บุญเยอะมันก็มี
วัดความบริสุทธิ์
ของผู้รับได้อย่างไร ?
เราบอกไม่ได้ในฐานะของ ผู้ทำ เพราะว่าเราไม่ได้มีญาณทัศนะในระดับที่จะไปเห็นว่า พระองค์นี้บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ แต่เราก็อาจจะสังเกตจาก วัตรปฏิบัติและศีลเป็นสิ่งที่ดูง่ายที่สุด เพราะเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา ซึ่งอาจจะบอกได้เลาๆ ว่า อยู่ในเกณฑ์ที่จะเป็นเนื้อนาบุญให้กับเราได้หรือไม่
คราวนี้พอพิจารณาองค์ประกอบแล้ว จึงเริ่มมาดูว่าทำบุญมากจะได้มาก อย่างที่ว่าไว้จริงไหม ?
เอาความรู้สึกหลวงพี่ก่อนนะ คือมันสมเหตุสมผลถ้า ทำมากแล้วได้มาก มันเข้าท่ากว่า ทำมากแล้วได้เท่ากับทำน้อย คือมันไม่ make sense โดยสามัญสำนึกของมนุษย์นะ
ทีนี้ก็ไปดูว่าจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร ?
ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้ท่าน ไม่ได้พูดเรื่องมากหรือเรื่องน้อย แต่ก็มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกอยู่หลายที่ แต่คนส่วนมากเวลาเขาคุยเรื่องนี้ เขามักจะเอามาเทียบว่า
เอ้อ...ทำบุญน้อยได้มากก็มี ทำบุญมากได้น้อยก็มี
เพราะอะไร ?
เพราะว่าจับเอา 2 คนนี้มาชนกัน ซึ่งหลวงพี่คิดว่ามองแบบนี้ไม่ได้ เพราะมันมีองค์ประกอบ ถ้าเราอยากจะรู้ว่า ทำมาก...ได้มากกว่าทำน้อยจริงไหม เราต้องดูในคนๆ เดียวกันถ้าเราลองไปเปิดในพระไตรปิฎก พระสารีบุตรเคยถามพระพุทธเจ้าว่า...
ทำไมบางคนค้าขายแล้วขาดทุน
ทำไมบางคนค้าขายก็ได้กำไรนิดหน่อยไม่ได้ตามที่ตนเองหวัง คิดว่าน่าจะได้กำไรสัก 100 บาท ก็อาจจะได้สัก 50 บาท
ทำไมบางคนค้าขายแล้วได้กำไรเท่าที่ตัวเองหวัง คิดว่ามันจะได้สักร้อย แล้วก็ได้ร้อยจริงๆ
กับบางคนค้าขายไปแล้วก็ได้กำไรเกินกว่าที่คาดไว้ คือคาดว่าจะได้ร้อย แต่ได้สองร้อย
พระสารีบุตรถามว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ?
พระพุทธเจ้าก็ตอบว่า เป็นเพราะว่าในอดีตคือ ถ้าเขาปวารณาหรือมีความตั้งใจว่าอยากจะทำบุญ สมมติจะทำบุญกับพระองค์นี้ 100 บาท แต่พอถึงคราวจริงๆ เขาไม่ทำเลย
คนแบบนี้เกิดมาถ้าค้าขายก็ขาดทุน เพราะว่าตั้งใจจะทำแล้วไม่ทำ เมื่อไม่ทำก็ไม่ได้บุญ คุณจะทำธุรกิจ
อะไรก็แล้วแต่เมื่อคุณไม่มีบุญรองรับ ก็ไม่ได้ทรัพย์สมบัติมา มันก็เป็นเหตุเป็นผลกัน
ทีนี้ในกรณีที่ปวารณาจะทำ 100 แต่ว่าพอทำจริงทำไม่ถึง สมมติทำสัก 70 บาท ไม่ใช่ไม่มีนะมีแต่ฉันไม่ให้ ทำแค่นี้ก็พอแล้ว คือมีความตระหนี่เข้ามามากันเอาไว้นิดหน่อย แต่ก็ยังทำ
คนแบบนี้จะได้กำไรน้อยกว่าที่คาด อยากได้ 100 ก็จะได้ 70 ก็ยังดีที่ได้กำไร แต่ไม่ได้ทรัพย์เต็มที่ตามที่คิดไว้ เพราะมีความตระหนี่
เราก็เทียบแบบนี้ไปเรื่อยๆ
จนกระทั่งไปถึงจุดที่ว่า จริงๆ ก็ปวารณาไว้ที่ 100 แต่รู้สึกปีติ มีความสุขอยากจะทำเกินกว่าที่ตัวเองคิด ซึ่งแน่นอนผลบุญก็เกิดมากว่าที่ตัวเองเคยตั้งใจปวารณาไว้ เพราะฉะนั้นที่คิดว่ามันน่าจะได้สักเท่านี้ แต่ผลบุญที่เคยทำมากระโดดไปมากว่านั้น ดึงดูดทรัพย์สมบัติได้มากกว่าเดิมตรงนี้ก็เป็นตัวบอกว่า นี่ไง...ทำมากได้มากจริงๆ เราจึงต้องเทียบกับคนๆ เดียวกัน ไม่ใช่ไปเทียบ 2 คนที่มีเงื่อนไข หรือสภาพที่ต่างกัน
เป็นไปได้ไหม
ที่ทำเยอะก็อาจจะได้น้อย แต่ทำน้อยก็อาจจะได้เยอะ ?เป็นไปได้ แต่เวลาเราทำบุญแล้วจะวัด เราต้องวัดในคนๆ เดียว แล้วก็ในบริบทเดียวกัน คำว่าบริบทหมายถึงว่ามันต้องอยู่ในๆ จังหวะเดียวกัน องค์ประกอบทุกอย่างต้องเหมือนกัน ก็คือคนรับต้องคนนี้ ณ เวลานี้ ณ จิตใจเจตนาแบบนี้ ปัจจัยที่เราได้มาบริสุทธิ์แบบนี้นะ
พอแฟคเตอร์ (factor) เดียวกันปุ๊บ เราถึงมาดูว่าระหว่างทำมากกับทำน้อย อันไหนได้บุญมากกว่ากัน
คลิกที่ภาพเพื่อรับชมวีดีโอ
ทฤษฎีตัดแปะ ทำน้อยได้มาก ทำมากได้น้อยจริงหรือ?
Reviewed by สารธรรม
on
04:24
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: