ตรรกะร่วมสมัย วัดไทยต้องคร่ำคร่าจึงเรียกว่า พุทธสันโดษ?
วัดพระธรรมกาย
วัดนี้มาไกลมากจากความสมถะ สันโดษ คนทั่วไปเกิดความรู้สึกว่าวัดนี้สอนให้ยึดติดกับวัตถุ ?ถ้าติดวัตถุ เราก็ติดทุกอย่างล่ะ คุณใส่เสื้อคุณไม่ติดวัตถุหรือ คือบางทีมันก็เป็นความชอบของแต่ละคน เหมือนพระที่ท่านชอบอยู่เงียบๆ ในป่า กับพระที่ท่านชอบอยู่ในเมือง ก็อาจจะมองคนละวัตถุประสงค์
อย่างเช่นพระที่อยู่ในป่า ท่านชอบความเงียบ แล้วท่านก็อยู่แบบเรียบง่ายอย่างนั้น ส่วนพระที่อยู่ในเมืองท่านอาจจะคิดว่ามาอยู่ตรงนี้ เพราะอยากจะเผยแผ่เอาคำสอนพระพุทธเจ้าไปให้คนรู้ ฉะนั้นฉันก็อยู่วัดในเมือง
พอเป็น "วัดเมือง" ก็จะมีสิ่งก่อสร้าง มีกุฏิ มีอะไรที่ไม่เหมือนอยู่ใน "วัดป่า"
ถ้าถามว่า วัดที่อยู่ในเมืองคือวัดที่ ติดวัตถุ เพราะมีกุฏิหลังใหญ่ มีโบสถ์ดูสวยงาม ในขณะที่วัดป่าเขาไม่มีอย่างนี้ คือถ้า ติดวัตถุ มันก็อาจจะพูดได้เหมือนกันว่า วัดป่า เขาก็ ติดวัตถุ แต่เขาติดวัตถุแบบของเขา
เพราะฉะนั้นถ้าถามว่ามันจะ ติด หรือมัน ไม่ติด อยู่ที่ว่าเราใส่ใจกับวัตถุนั้นขนาดไหน เหมือนในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเคยถามว่า
"เธอว่าพระภิกษุนี่เคารพพระองค์ตรงไหน "
มีโยมบอกว่า
"น่าจะเคารพพระองค์ตรงที่พระองค์เป็นผู้ใช้จีวรเก่า "
พระองค์บอก
"ไม่ใช่ เธอไปดูสาวกของเราสิเยอะแยะเลยใช้ผ้าห่อศพ เรานี่ใช้ผ้าคหบดีแพงกว่านั้นอีก ถ้าเขาเคารพเราเพราะเราห่มผ้าอย่างนี้ ไปเทียบกับสาวกที่ดูสมถะกว่า คนก็ไปเคารพสาวกสิ มาเคารพเราทำไม "
บางคนก็บอกว่า
"พระองค์อยู่ในเสนาสนะที่เรียบง่าย "
พระองค์บอก
"ไม่ใช่หรอก สาวกเราบางคนอยู่โคนไม้ บางคนอยู่ถ้ำ เราได้อยู่กุฏิ คันธกุฎี กุฏิมีกลิ่นหอม เป็นกุฏิที่สร้างมามีมูลค่ากว่าถ้ำนะ เราก็ติดวัตถุสิ โน่นไม่ติดใช่ไหม เราแย่กว่า โน่นดีกว่าอย่างนี้ใช่ไหม "
พระองค์ก็เทียบให้ดูอย่างนี้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรากำลังมองอยู่ว่า ติดวัตถุ หรือไม่ติดวัตถุ ขึ้นอยู่กับว่าเรามองสิ่งนั้นอย่างไร
คนที่ใช้ชีวิตแบบสันโดษคือ
มีความพอดีในตัวเอง แต่พระองค์ก็ไม่ได้หมายความว่า ความพอดีจะเหมือนกันทุกคนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปิดโอกาสให้ พระ มีความเป็นอยู่พอเหมาะพอสมกับชีวิตของตนเอง เรื่องของการติดวัตถุจึงพูดไม่ได้ว่า
กุฏินั้นใหม่ กุฏินี้เก่า กุฏิเก่าก็ดีกว่า หรือพระที่ดูอายุเยอะๆ ถึงจะดูขลังกว่าพระที่อายุน้อยๆ ก็บอกไม่ได้ เพราะก็ต้องไปนั่งดูกันว่าบางทีพระอายุเยอะพึ่งบวชมา 2 พรรษา ขณะที่พระอายุน้อยๆ บวชมาเป็น 10 พรรษา
ฉะนั้นเวลาเราไปดูอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องของศาสนา ก็ต้องมองกลับไปที่วัตถุประสงค์ เพราะว่าพุทธศาสนาเวลาที่ พระบวชเข้ามา ท่านไม่ได้ไปมองแบบคนทางโลก
คนทั่วไปมักจะมองว่า
วัดพระธรรมกาย ขายตรง หรือบางทีบอกว่าวัดพระธรรมกายให้ ผ่อนบุญ เราก็ไม่ได้มองแบบนั้นยกตัวอย่างง่ายๆ การสร้างเจดีย์ มีองค์พระองค์ละ 1 หมื่นบาท สำหรับการทำบุญเพื่อให้ได้จารึกชื่อลงไปที่ฐานองค์พระ ถามว่าทำไมมันต้อง 1 หมื่น
คำตอบก็คือ
การสร้างเจดีย์ขึ้นมาโดยต้องการคนที่จะจารึกชื่อ 1 ล้านคน ก็ลองหารออกมาดูว่ากว่าจะสร้างเสร็จต้องใช้ทุนเท่าไหร่ ถึงจะทำให้เจดีย์นี้กลายมาเป็นศูนย์กลาง เป็นสถานที่รองรับคน 1 ล้านในอนาคตตัวเลขหารออกมาก็ประมาณหนึ่งหมื่น หรือหนึ่งหมื่นห้า คราวนี้คนที่ทำบุญก็มีหลายระดับ อย่างบางคนเขาสร้างได้สบายมากกี่องค์ก็ได้ บางคนก็มีไม่พอ ถ้ามีไม่ถึงหมื่นทำไม่ได้ใช่ไหม...ไม่ใช่ คุณร่วมบุญได้ ไม่ใช่มีแค่สร้างองค์พระอย่างเดียว ปัจจัยที่คุณร่วมมาจะไปเป็นส่วนอื่นๆ ในเจดีย์ด้วย
เจดีย์ไม่ได้สร้างแค่ปีเดียว แต่สร้างเป็นสิบปี ในสิบปีนั้นคุณอาจจะทำบุญหลายครั้งก็ได้ ครั้งนี้ทำ 500 ครั้งหน้าอาจจะทำ 300 ทำไปเรื่อยๆ พอรวมกันแล้วจะเป็นหมื่น หรือเกินกว่านั้นมันเป็นไปได้
เพราะฉะนั้นเราเก็บยอดเขาไว้ดีกว่าไหม เขาทำทีหนึ่งเก็บยอดเอาไว้ แล้วเติมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งพอไปถึงหมื่นปุ๊บ สลักชื่อให้คุณ
นี่คืออะไร
ให้ผ่อนเหรอ มันไม่ใช่ .!
เราคิดแต่ว่า ทำยังไงให้โยม ที่มีฐานะไม่มากในระดับที่จะมาทุ่มทีเดียวแล้วทำได้ เราจะทำยังไง ให้เขายังได้ประโยชน์จากความความตั้งใจที่จะสร้างเจดีย์
ปัจจัยที่เขาทำมาทุกบาททุกสตางค์ เราจึงเห็นคุณค่าเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะบอกเขาว่า คุณมาถึงตรงนี้แล้วนะ มันมีเวลาอีกหลายปีกว่าที่เจดีย์จะเสร็จ กว่าที่จะได้ครบล้านองค์
เพราะฉะนั้นคนที่ทำบุญ เขาก็มีความรู้สึกว่า เอ้อ...ที่ฉันทำวัดก็ยังเห็นคุณค่า แม้จำนวนจะเล็กน้อยก็ตาม ก็ยังอุตส่าห์ให้เขาทำไปได้เรื่อยๆ จนกระทั่งไปถึงจุดที่คุณจะสลักชื่อได้
พระของขวัญ รางวัลพิเศษ
แคมเปญ (Campaign) กระตุ้นให้เกิดการชวนคนมาทำบุญมากๆ ?คือก็ยังอยู่ในคอนเซปต์เดิมที่ว่าการให้พระของขวัญ หรืออะไรไป จะต้องมีเงื่อนไขอยู่ว่า ถ้าคุณทำความดีแบบนี้ คุณเอาอันนี้ไว้ระลึกนึกถึง
สมมติอย่างนี้นะ คุณวิ่งได้ที่ 1 เขาก็มอบเหรียญทองให้กับคุณ เวลาคุณเห็นเหรียญทองคุณรู้สึกอะไร ก็รู้สึกว่าเอ้อ...ฉันทุ่มเทมาตั้งนานนะกว่าฉันจะได้เหรียญนี้มา
เหมือนกันพระของขวัญที่ให้ไปมูลค่าไม่ได้มากมาย เอาไปขายมันจะได้สักกี่บาทกี่ตังค์กัน แต่เราทำด้วยความประณีตทำออกมาแบบดีที่สุด เพราะสิ่งนั้นเนื่องด้วยพระรัตนตรัยซึ่งเราให้คุณค่ากับตรงนั้น
เพราะฉะนั้นคอนเซปต์ของการชวนคนมาทำบุญ หรือการระดมทุน จึงไม่ได้อยู่ที่ทำให้คนรู้สึกว่า จะต้องไปเอาพระของขวัญมาให้ได้
คลิกที่ภาพเพื่อรับชมวีดีโอ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
Fb ภาพดีๆ 072
Fb เรื่องเล่าเข้าใจธรรม
ตรรกะร่วมสมัย วัดไทยต้องคร่ำคร่าจึงเรียกว่า พุทธสันโดษ?
Reviewed by สารธรรม
on
08:54
Rating:
น่าสงสารคนยุคนี้จังเลย ไม่เข้าใจกฎแห่งกรรม
ตอบลบแล้วไม่เข้าหลักแห่งความจริงที่ว่า ชีวิตหลังตายนะมี
มาทำความดีแข่งกันดีกว่า มาขวางมาว่าคนอืน เอาบุญใส่ตัวไว้บ้าง เถิดนะภพหน้าจะไม่ลำบาก
พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ฝึกใจสงบ เมื่อใจสงบดีเหมาะสำหรับการงานทั้งปวง ก็จะทำงานมีประสิทธิภาพ เวลาพระพุทธเจ้าไปโปรดสัตว์ ก็เป็นที่ในเมืองคนเยอะๆทั้งนั้น แบบนี้จะบอกว่าพระองค์ไม่สันโดษไม่ได้เงื่อนไขจริงๆคืออะไร เวลาฝึกใจฝึกสมาธิ ต้องไปฝึกในที่สงบเช่นป่า หรือสถานที่คนน้อย แต่เวลาทำงานก็จะทำในชุมชนเพื่อขยายงานพระพุทธศาสนา
ตอบลบเห็นด้วยทุกอย่างค่ะเพราะทุกวันนี้สังคมก็ติดวัตถุ อย่าว่าแต่วัดเลย การที่เราจะเชิญชวนคนชาวพุทธให้มานับถือหรือปฏิบัติตาม ต้องมีแบบอย่างที่ดีอย่างเช่นวัดสะอาดบรรยากาศดีมีระเบียบหมาแมวต้องไม่มี นั่งหลับตาทำสมาธิ ก็สามารถเข้าถึง ใจที่หยุดนิ่ง ได้เป็นอย่างดี ถ้ามีหมาแมวในฐานที่ ที่เป็นวัดนั่งหลับตาหรือเผลอ หมาก็หมาเลียปาก ทำให้เรา อาจจะไม่อยากมาวัดอาทิตย์เลย ที่สำคัญ ห้องน้ำ คือห้องที่ปลดทุกข์ต้องให้สะอาด บรรยากาศดี คืออากาศสามารถถ่ายเทได้ดีวัดพระธรรมกาย มีพร้อมทุกอย่างทุกสิ่งที่บุคคล พึงแสวงหา ลองมาสัมผัสดู แล้วคุณจะรู้ว่า สิ่งที่บอกนั้น ไม่เกินความจริงเลย
ตอบลบปัจจัยอะไรที่จะนับสนุนการเผยแผ่ศาสนาและทำให้คนเข้าใจความจริงของชีวิต รู้แจ้งในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เราต้องช่วยกันขอร้องคนไทยบางกลุ่มอย่ามัวแต่มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หรือเป็นทาสของสื่อโซเชียลที่ถูกจ้างมาทำลายชาวพุทธเลย
ตอบลบวัดดี น่าเข้า น่าประทับใจ ต้องสะอาด มีระเบียบ สอนให้คนทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ แผ่เมตตาทุกวันเอย.
ตอบลบ