จับพระสึกตามยุทธวิธี
การให้พระภิกษุสละสมณเพศ
กับ ยุทธวิธี ของตำรวจเวลาพระภิกษุต้องคดี หากพระภิกษุไม่ได้ประกันตัว ต้องให้พระภิกษุสละสมณเพศหรือสึกเสียก่อนกล่าวคือจะนำพระภิกษุไปขังในขณะครองผ้ากาสาวพัสตร์ไม่ได้เพราะผ้ากาสาวพัสตร์ถือว่าเป็นของสูง
ปัญหาว่า มีความจำเป็นแค่ไหนที่ ต้องจับสึก
ก็ต้องตอบว่า อยู่ที่ ดุลยพินิจของตำรวจ
หาก ตำรวจต้องการให้สึก ตำรวจก็ ไม่ให้ประกันตัว
แต่หากไม่ต้องการให้สึก
ตำรวจก็ต้องขอให้เจ้าอาวาสที่พระภิกษุนั้นสังกัดอยู่รับตัวพระภิกษุนั้นไปควบคุมไว้ พระภิกษุนั้นก็ไม่ต้องสละสมณเพศ หรือไม่ต้องสึก (พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 29)กรณีที่เกิดขึ้นกับพระภิกษุที่เป็นข่าวใหญ่โตขณะนี้ จึงสรุปได้ว่าเป็น ดุลยพินิจของตำรวจที่จะจับสึก
ผมก็ไม่ว่าอะไรล่ะครับตำรวจไทยมี "ดุลยพินิจ" ที่ถูกต้องสวยงามเป็นที่ยอมรับของประชาชนเสมอ เพียงแต่พระภิกษุบางรูปท่านบวชมาตั้งแต่อายุ 20 ปี ตั้งใจจะมรณภาพภายใต้ร่มเงาผ้ากาสาวพัตร์
และตอนนี้ท่านก็อายุมากแล้วกว่าจะ ต่อสู้คดีเสร็จก็ใช้เวลานับ 10 ปี ถึงตอนนั้นหากศาลตัดสินให้ท่านชนะคดี เวลาที่จะครองผ้ากาสาวพัตร์ใหม่น่าจะสายไปแล้ว
เรื่องที่ละเอียดอ่อนและกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของตำรวจควรจะลงมาดูการใช้ดุลยพินิจของผู้ใต้บังคับบัญชา ผบ.ตร.บอกว่า การจับกระทำถูกต้องตาม "ยุทธวิธี" แล้ว
แต่ต่อมา นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ออกมาขอโทษประชาชนในการกระทำที่รุนแรงเกินไปตกลงจะเอาไง
ผมว่าตำรวจต้องตอบชาวพุทธ 3 เรื่อง
1. ยังยืนยันยุทธวิธีของท่านว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่
2. ทำไมต้อง "จับสึก" ทำไมไม่ให้ประกันกันตัวตาม พรบ.คณะสงฆ์ มาตรา 29
3. ขอถาม (เบาๆ) ว่า
ถ้าเป็น นักบวชตามศาสนาอื่น ท่านจะใช้ยุทธวิธีแบบนี้ด้วยหรือไม่ หรือท่านกล้าใช้ "ยุทธวิธี" แบบนี้เฉพาะกับพระในพระพุทธศาสนา
นิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ
27 พ.ค. 2561
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
https://www.facebook.com/nipit.in
PPTV HD 36 (วันที่ 28 พ.ค.2561)
จับพระสึกตามยุทธวิธี
Reviewed by สารธรรม
on
01:44
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: