นักวิชาการดังแจงยิบกรณี คำสอนเจ้าอาวาสธรรมกาย
เอกสารข้างล่างนี้ผมเขียนให้ตำรวจที่ทำ คดีวัดพระธรรมกาย คดีหนึ่งตามคำร้องขอ เพื่อให้ตำรวจมีข้อมูลก่อนตัดสินใจสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง
ผมเขียนให้เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ ในฐานะนักวิชาการ ไม่คิดว่ากำลังช่วยใคร แต่คิดว่าตนรู้และคิดอย่างไรที่อาจเป็นประโยชน์ในการอำนวย ความยุติธรรม แก่เพื่อนมนุษย์ก็ควรทำ
นักวิชาการต้องเปิดกว้างแก่ทุกฝ่าย ฝ่ายที่ฟ้องร้องวัดพระธรรมกายหากอยากมาปรึกษาผมก็ยินดีครับ
ศูนย์ศึกษาพุทธปรัชญา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
เรียน ท่านที่เกี่ยวข้อง
ผมชื่อ ศาสตราจารย์ ดร. สมภาร พรมทา ประวัติการทำงานโดยย่อคือ (ก) ระหว่างปี ๒๕๓๕-๒๕๕๙ เป็นอาจารย์ประจำ (ตำแหน่งทางวิชาการสุดท้ายคือศาสตราจารย์ทางปรัชญา) วิจัยและสอนทางนิติปรัชญา ปรัชญาสังคมและการเมือง และพุทธปรัชญาเป็นต้น ที่ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ข)
๒๕๕๙-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพุทธปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขอให้ความเห็นเชิงวิชาการเกี่ยวกับประเด็นที่ท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และพวกถูกกล่าวหาว่าทำผิดพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบัน โดยการนำเข้าซึ่งข้อมูลที่เป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์สาธารณะที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ ดังนี้
๑. ประเด็นหลักการ
ผมขอแยกเป็นสองเรื่องคือหลักการทาง นิติปรัชญา กับ หลักการทางปรัชญาศาสนา
1. หลักการทางนิติปรัชญา โดยทั่วไป อาชญากรรมที่กฎหมายของรัฐมีความชอบธรรมจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้จะเป็นอาชญากรรมที่ชัดเจน อันแสดงออกทางกายหรือวาจา โดยที่การแสดงออกนั้นมีคนได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ในทางนิติปรัชญา อาชญากรรมทางความคิดไม่มี เพราะเราถือกันว่าสังคมจะไม่เจริญหากมีการปิดกั้นการเสนอความคิด
ในมหาวิทยาลัยการเสนอความคิดเป็นสิ่งปกติธรรมดา และเป็นสิ่งที่เราให้ค่าว่าเป็นสิ่งที่ดี ศาสตราจารย์สอนมหาวิทยาลัยที่เด่นๆ ของโลกเหมือนกันอย่างหนึ่งคือเป็นคนคิดและเสนอเรื่องใหม่ๆ ในทางปัญญาอยู่เสมอ
เป็นไปได้ที่ความคิดบางอย่างมหาชนอาจไม่ชอบ เช่น เห็นว่าบุตรไม่มีหน้าที่ต้องตอบแทนบุญคุณบิดามารดา หากจะเอาผิดความคิดเช่นนี้ก็ต้องมีหลักฐานว่าเจ้าของความคิดได้พูดหรือเขียนออกไปแล้วสิ่งที่เขาคิดทำให้มีคนเดือดร้อนเสียหายอย่างชัดแจ้ง หากพิสูจน์ไม่ได้ ความคิดนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรม
ในทางนิติปรัชญาเราถือกันว่าความชั่วบางอย่างไม่เป็นอาชญากรรม แต่ความชั่วบางอย่างเป็น ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายต้องแยกให้ได้ ความชั่วที่เป็นอาชญากรรมต้องมีคนเดือดร้อนเสียหาย
2. ในทางปรัชญาศาสนา เราถือกันว่า ศาสนาเน้นที่ความคิด ความเชื่อ โดยทั่วไป กฎหมายของรัฐจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะถือว่าศาสนาเป็นเรื่องที่อยู่ในหัวหรือในใจของคน กฎหมายเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขาพูดออกมาหรือทำออกมาเท่านั้น การบอกว่าศาสนาเอาเปรียบคนเป็นเรื่องยากมาก
ทุกศาสนาจะสอนสิ่งที่ตรวจสอบไม่ได้ ในประเทศตะวันตกการสอนว่าพระเจ้าสร้างโลกไม่ผิดกฎหมาย
การสอนว่าคุณบริจาคเงินให้โบสถ์ ตายแล้วพระเจ้าจะรับคุณไปอยู่ในสวรรค์ก็ไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีประเทศใดในยุโรป และอเมริกาเอาผิด นักเทศน์ก็ออกโทรทัศน์และเสนอความคิดเช่นนี้ใoอินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องปกติธรรมดา
แต่ที่กล่าวนี้ไม่ได้แปลว่ารัฐจะมีกฎหมายควบคุมศาสนาไม่ได้ กฎหมายมีได้และสมควรมี โดยทั่วไปหากการแสดงออกในทางศาสนาเป็นไปตามความเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจคือ
เชื่ออย่างนั้นจริงๆ รัฐจะไม่เกี่ยวข้อง เพราะไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อเหล่านั้น (เช่นพระเจ้ามีจริง นิพพานมีจริง นรกสวรรค์มีจริง) จริงหรือเท็จ
แต่หากคนที่เอาสิ่งเหล่านี้มาเสนอแสดงพฤติกรรมที่ส่อว่ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ต้องการใช้สิ่งที่ตนสอนเอาเปรียบคนอื่น หากพิสูจน์ได้ชัดเจนเช่นนั้น กฎหมายของรัฐก็เข้าไปเกี่ยวข้องได้ แต่กรณีเช่นนี้ก็เกิดได้ไม่ง่าย ยกเว้นการใช้ศรัทธาทางศาสนาที่อาจเข้าข่ายว่าเป็นไปในทางทำลาย เช่น
เทศน์เพื่อชวนคนฆ่าตัวตายหมู่ อันนี้กฎหมายมีสิทธิ์เข้าไปยับยั้งหรือเอาผิด สรุปคือการสอนศาสนาโดยผู้สอนเชื่อสิ่งที่ตนสอน แม้สิ่งนั้นตรวจสอบไม่ได้ ก็ไม่เคยมีการเอาผิดในฐานะสอนความเท็จ
ประเทศที่กฎหมายเจริญแล้วเช่นอเมริกาหรือยุโรปก็ไม่เอาผิด หากเอาผิดก็จะเป็นเรื่องประหลาด
๒. ประเด็นรายละเอียด
๒. ประเด็นรายละเอียด
ท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย สอนเรื่องการถวายข้าวพระพุทธเจ้า สอนว่าพระนิพพานเป็นอัตตา เป็นบ้านเป็นเมือง และสอนว่าคนบางคนทำกรรมอย่างนี้อย่างนั้นตายแล้วจะไปเกิดเป็นนั่นเป็นนี่
โดยภาพรวมการสอนทั้งหมดนี้เป็น เรื่องปกติธรรมดาในทางศาสนา คือทุกศาสนาในโลกจะมีเนื้อหาส่วนใหญ่อยู่พ้นการตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัสเช่นนี้
เฉพาะพุทธศาสนาเอง สิ่งที่ท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายสอนก็ไม่ใช่ของใหม่ แต่มีมายาวนานในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา
ซึ่งผมขอพูดรวบรัดดังนี้ เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานคือตาย มีชาวพุทธแบ่งเป็น 2 พวก
>> 1. พวกหนึ่งเชื่อว่าท่านตายแต่ร่าง ส่วนวิญญาณของท่านยังอยู่ในพระนิพพาน
>> 2. อีกพวกเชื่อว่าเมื่อตายแล้ว ทั้งร่างและวิญญาณของท่านดับไป คือหายไปจากจักรวาล
ชาวพุทธมหายานส่วนใหญ่เชื่อ "แบบแรก" ชาวพุทธเถรวาทส่วนใหญ่เชื่อ "แบบหลัง"
สำนักธรรมกายเชื่อแบบแรก คือเชื่อเหมือนชาวพุทธในจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลี เป็นต้น ผมไม่คิดว่าความเชื่อเช่นนี้เป็น อาชญากรรม
พระพุทธศาสนาในประเทศมหายานเหล่านี้ก็เจริญรุ่งเรือง มีผลต่อการสร้างชาติเหล่านี้เช่นเดียวกับนิกายเถรวาทในไทย พม่า ลังกา ลาว เป็นต้น
สมมติเราจะถามว่า...
สมมติเราจะถามว่า...
วัดพระธรรมกาย เชื่อค่อนไปทาง มหายาน แต่ประเทศไทยนับถือ นิกายเถรวาท อันนี้จะพิจารณาว่าอย่างไรในทางประวัติศาสตร์ศาสนาเรื่องนี้ก็ไม่แปลก เพราะทุกนิกายศาสนาจะมีคนส่วนน้อยเสมอ มหายาน ก็มีนิกายเซน ที่ไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้ายังอยู่ในนิพพาน
วัดพระธรรมกาย เป็นคนส่วนน้อยแบบเดียวกับเซน วงการพุทธศาสนาไม่ถือว่าเป็นปัญหา ตรงข้ามเรากลับยินดีที่มีสำนักพุทธส่วนน้อยเช่นนี้
และที่น่าสนใจคือ สำนักพุทธส่วนน้อยในประเทศพุทธบางทีกลับเป็นสำนักที่ทำประโยชน์ต่อประเทศนั้นมาก เช่นที่นิกายเซนทำต่อญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก้าวหน้าเพราะนิกายส่วนน้อยนี้
การสอนว่าคนทำบาปจะไปตกนรก ทำบุญจะไปสวรรค์ พระในพุทธศาสนาสอนกันมาอย่างนี้ทั้งนั้น
กรณีท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายอาจต่างไปจากท่านอื่นคือท่านมีรายการโทรทัศน์ มีการทำภาพประกอบ และบางทีเนื้อหาก็ใช้คนร่วมสมัย เช่น สตีฟจอบส์ เป็นตัวอย่างศึกษา
แต่โดยสาระสิ่งที่ท่านสอนเป็นความเชื่อพื้นฐานของพุทธศาสนา มีปรากฏทั่วไปในคัมภีร์ ต่างเพียงตัวละครในคัมภีร์เป็นคนอินเดียโบราณเท่านั้น
๓. สรุป
ผมคิดว่าท่านที่เกี่ยวข้องทางด้านกฎหมายต้องถามว่า สิ่งที่ท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายทำสมควรถือว่าเป็นอาชญากรรมไหม นี่คือหัวใจของเรื่องทั้งหมดที่ผมไม่มีหน้าที่วินิจฉัย
ผมพูดได้เพียงว่า จะตอบคำถามนี้ได้ก็ต้องดูว่าใครเสียหาย เดือดร้อน ถูกเอาเปรียบ ถ้าไม่ชัด ประเด็นที่กล่าวหาว่าท่านนำสิ่งที่เป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก็อ่อนมาก
สิ่งที่เป็นเท็จตามกฎหมาย หมายถึง สิ่งที่ไม่จริง (พิสูจน์ได้ชัด) แล้วสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่บุคคลอื่นหรือสังคม (พิสูจน์ได้ชัดแจ้งเช่นกัน) ไม่ได้หมายถึงการสอนสิ่งที่ศาสนาของตนสอนมายาวนาน สิ่งที่ทุกศาสนาสอนจำนวนมากตรวจสอบว่าจริงหรือเท็จไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่มีกฎหมายในประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหลายในโลกสนใจเอาผิดเรื่องแบบนี้
สำหรับผม...
การสอนว่าพระพุทธเจ้ายังอยู่ในพระนิพพาน เราจึงทำพิธีถวายภัตตาหารท่านได้ก็ดี
การสอนว่าพระนิพพานเป็นอัตตา เป็นบ้านเป็นเมืองก็ดี
การสอนว่าสตีฟจอบส์ทำอะไรไว้ และตอนนี้ไปอยู่ที่ไหนก็ดี
พิสูจน์ว่าเท็จไม่ได้ พิสูจน์ว่าจริงก็ไม่ได้.!
เมื่อเป็นอย่างนี้กฎหมายคงเข้าไปเกี่ยวข้องโดยกล่าวหาว่าเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จไม่ได้ หากชาวพุทธบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการสอนเช่นนี้ช่องทางที่มีเหตุผลคือช่องทางทางวิชาการเช่นเขียนงานวิจัยโต้แย้ง
จะใช้กฎหมายปิดกั้นหรือลงโทษไม่ได้ เพราะเป็นความเชื่อทางศาสนาอันเป็นเรื่องของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ไม่ใช่อาชญากรรม
(ศาสตราจารย์ ดร. สมภาร พรมทา)
หมายเหตุ-ความเห็นทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ไม่เกี่ยวกับหน่วยงานที่ผมสังกัดอยู่ ที่ให้ชื่อหน่วยงานเพื่อความสะดวกในการติดต่อแก่ผู้เกี่ยวข้องเช่นตำรวจ
(ศาสตราจารย์ ดร. สมภาร พรมทา)
หมายเหตุ-ความเห็นทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ไม่เกี่ยวกับหน่วยงานที่ผมสังกัดอยู่ ที่ให้ชื่อหน่วยงานเพื่อความสะดวกในการติดต่อแก่ผู้เกี่ยวข้องเช่นตำรวจ
Cr. สมภาร พรมทา Facebook
นักวิชาการดังแจงยิบกรณี คำสอนเจ้าอาวาสธรรมกาย
Reviewed by สารธรรม
on
06:58
Rating:
อนุโมทนาบุญกับอาจารย์ที่ให้ความกระจ่างให้กับชาวโลกได้รับรู้ความจริงที่ถูกต้องด้วยคะ สาธุๆๆ
ตอบลบเป็นเรื่องวินิจฉัยที่ยุติธรรม และกระจ่างแจ้งมากค่ะ
ตอบลบอนุโมทนาบุญ อาจารย์ที่วิเคราะห์อย่างเป็นกลาง
ตอบลบขอบคุณครับที่ให้ความกระจ่างแจ้งที่ครอบคลุมทุกด้าน
ตอบลบStrongly agree! The abbot and all Buddhist monk are innocent VICTIMS!
ตอบลบThis dictator government has destroyed the temple even though all monks in the dhammakaya temple are very good monks. They have been targeted, tortured, bully and threatening. Their LIVES are under threatened!
They WANT to kill the ABBOT who is really good teacher and extensive experience practicing monk who does his duty PERFECTLY!
If we don't have him and this temple other temples may be destroyed because this temple helps many remote temples including helping other Buddhists countries worldwide
Piss Off the royal dictators! Go to h.....ll. !
สาธุค่ะท่านอาจารย์กล่าวได้ดีมีเหตุผล
ตอบลบสุดยอด
ตอบลบ