เผยศาสตร์ในการทำบุญ..ให้ได้ผลทั้งวัดจน และวัดรวย Quote เรื่องเล่าเข้าใจธรรม

มาทำบุญกับวัดนี้จะได้อะไร.?


วัดใหญ่มาก กว้างมาก วัดรวยแล้วไม่น่าขาดแคลนอะไร ยังจะชวนมาทำบุญอีก.!

ในฐานะที่เป็นพระไม่ได้มองในมุมแบบที่ญาติโยมมองกัน จริงๆ ไม่ควรจะมองแบบนั้นด้วยซ้ำไป เพราะวัดสร้างมาไม่ได้สร้างมาเพื่อจะให้ รวย หรือ ไม่รวย !

วัดคืออะไร.? 

คือที่พักของพระเพื่อใช้ปฏิบัติศาสนกิจบำเพ็ญสมณธรรม เล่าเรียนตำรับตำรา ในขณะเดียวกันก็เป็นที่ทำบุญของญาติโยม เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดอยู่ในวัดเป็นสมบัติของพระศาสนาไม่ใช่สมบัติของวัด

อยากทำบุญ

กับวัดที่ขาดแคลน.?


วัดไม่ได้บังคับว่าจะไปทำบุญที่ไหน จริงๆ ถ้าหากญาติโยมจะไปทำในวัดที่ขาดแคลนก็ยินดี การไปทำบุญแต่ละวัดเราทำเพื่ออะไรเราต้องย้อนกลับไปหาจุดประสงค์ก่อน เพราะไม่อย่างนั้นเราจะสับสนว่าทำ วัดนั้นรวย วัดนี้จน 


วัดไม่ได้สร้างมาด้วยวัตถุประสงค์ที่ จะมารวย หรือจะมาจน เวลาที่เราเข้ามาทำบุญเรามาทำเพื่ออะไรคำตอบคือ เรามาทำเพื่อที่จะ กำจัดความตระหนี่ในใจเรา


สมัยพุทธกาล คนจะแห่ไปทำบุญที่ วัดเชตวัน เยอะเมื่อเทียบกับวัดอื่นๆ เพราะอะไร.?

เพราะที่วัดเชตวันมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ มีพระอรหันตสาวกอยู่เยอะ เพราะฉะนั้นเวลาเขาไปทำเขาไม่ได้คิดว่าโฮ้ว..วัดเชตวันใหญ่จังเลย วัดบุพพารามใหญ่จังเลย

ทำบุญกับเนื้อนาบุญ


การทำบุญ ..เขาไปที่วัดเขารู้เขาจะไปทำบุญ เขาไม่ได้คิดเรื่องอื่น

ดังนั้นเมื่อไปทำบุญก็ทำให้ถูกเนื้อนาบุญ อันนี้ขึ้นกับความชอบ เช่น อยากไปทำที่เชตวันวัดที่พระพุทธเจ้าอยู่ไปทำแล้วมีความสุขก็ไปทำตรงนั้น

ถ้าในปัจจุบันอย่างวัดพระธรรมกายเราก็ไม่ได้ไปบอกว่า จงมาทำที่วัดพระธรรมกาย ขึ้นอยู่กับความศรัทธาของคุณ ถ้าคุณเห็นวัดไหนลำบากอยากไปทำคุณก็ไปทำ หรือคุณเห็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดพระธรรมกายได้ผลดีคุณอาจจะอยากมาทำบุญตรงนี้คุณก็ทำ

สงสารนำ สงเคราะห์ตาม


ทีนี้ถ้าเมื่อไหร่ที่เราไปคิดถึงเรื่องรวย เรื่องจนมันจะหลุดจากคอนเซปต์ (Concept) เลยนะ

หมายความว่า.. การมาทำบุญจริงๆ เราต้องการบุญใช่ไหม.? เรามาแล้วเราบอกว่า วัดนี้รวย วัดนั้นจน นั่นแสดงว่าเรามีความรู้สึก สงสาร แล้วนะ

เหมือนเราไปเห็นคนที่ลำบากแล้วเราอยากจะช่วยเพราะเรารู้สึก สงสาร สิ่งที่เราไปช่วยเขาเรียกว่าสงเคราะห์ คำว่าสงเคราะห์หมายถึงว่าเรากำลังจะไปช่วยเหลือเขาขึ้นจากความยากลำบาก

พอเราเห็นพระท่านลำบากแล้วเราอยากจะช่วยท่าน ก็เอาเงินไปทำบุญกับท่าน อันนี้เราไม่ได้พูดถึงการทำบุญ แต่เราพูดถึงการสงเคราะห์วัดเพราะ วัดน่าสงสาร



ต้องเข้าใจก่อนนะว่า.. 


ที่กำลังพูดกันอยู่นี้หลวงพี่ไม่ได้บอกว่า จงมาทำบุญที่วัดพระธรรมกาย หลวงพี่ยังยืนยันว่าเราสามารถไปทำวัดไหนก็ได้

แต่จิตของเราเวลาจะไปทำที่ไหนต้องเริ่มจากว่า เราอยากจะได้บุญ พอเริ่มจากเรา อยากจะได้บุญ เราก็จะไม่ไปมองในมุมที่ว่า วัดนี้รวย หรือวัดนี้จน 


คำว่าอยากได้บุญ 

มีกิเลสหรือเปล่า.?


แล้วเราอยากกินข้าวเป็นกิเลสไหม.? เมื่อไม่ได้กินก็ตาย จึงมีความจำเป็นต้องกินคำว่า อยาก ถ้าไปพ่วงกับความโลภมันคือ กิเลส

สมมติว่าเราอยากไปพระนิพพาน เป็นกิเลสไหม .?

แบบนี้ไม่ได้เป็นกิเลส เพราะมันเป็นความปรารถนาอยากจะไป ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยกิเลสมาบังคับเพราะกิเลสไม่อยากให้เราไปหรอกนิพพาน มันอยากให้เราอยู่ตรงนี้

ต้องดูอย่างนี้ว่าใจที่ทำให้เรา อยาก เกิดจากอำนาจกิเลสหรือเปล่า.? 

ต้องแยกระหว่าง ฝ่ายบุญกับฝ่ายบาป  ถ้ากิเลสดึงก็จะทำให้เรา คิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี  


ความแตกต่างของ

การทำบุญ กับการสงเคราะห์


ส่วนเรื่อง การทำบุญ เรามีความรู้สึกว่าอยากเห็นวัดที่ยากจนเจริญขึ้น

ถ้าเราคิดว่าเงินที่เราให้ไปมันช่วยทำให้ท่านดีขึ้น หลวงพี่บอกว่าตรงนี้ ไม่ใช่เรื่องการทำบุญ เราไม่ได้คิดถึงบุญแต่เราคิดถึงเรื่องของการสงเคราะห์การช่วยเหลือ

2 อย่างต่างกันอย่างไร.?


ที่ไม่ใช่เรื่องเดียวกันเพราะถ้าเราคิดว่า สงเคราะห์ ฐานของการเข้าไปช่วยเหลือ.!

คือเราเห็นความลำบาก เหมือนกับเราเห็นขอทานแล้วเรารู้สึกว่าอยากช่วยเหลือแล้วเขาจะสบาย ส่วนคนนี้มีกินแล้วไม่ต้องช่วยอะไร



ความจริงแล้ว..

เวลาเราทำบุญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็จะแยกแยะให้ว่าการทำบุญในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 แบบ ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นหลัก บุญกิริยาวัตถุ ซึ่งคนทั่วไปคุ้นแบบนี้

แต่การทำทาน เป็นวิธีการทำบุญที่แปลกตรงที่ว่าต้องอาศัย ผู้รับ คือ ถ้าเรารักษาศีลเรารักษาคนเดียวได้ จะนั่งสมาธิก็นั่งคนเดียวได้แต่ การทำทาน ต้องมี คนรับ 

ถามว่า เวลาบุญจะเกิด สัดส่วนตรงไหนสำคัญที่สุด .?

ระหว่าง คนให้ของ ที่จะให้ทานแล้วก็ ผู้รับ ถ้าคำตอบในพระพุทธศาสนาจะอยู่ที่ ผู้รับ นะว่า ผู้รับเป็นใคร พระพุทธเจ้าถึงอุปมาว่าสงฆ์นี้เป็น "เหมือนเนื้อนาบุญ"

คือหมายความว่าจะ ได้บุญมากหรือได้บุญน้อย ขึ้นอยู่กับ ผู้รับ เพราะฉะนั้นเวลาเราจะไปทำบุญเราอยากได้อะไร.? 

เราอยากได้บุญ.!


เนื้อนาบุญสำคัญอย่างไร.?


ถามว่าที่ๆ เราไปทำที่ตรงนั้นเป็นเนื้อนาบุญไหม.? 

เมื่อไปแล้วมีความรู้สึกว่า พระที่อยู่วัดนี้ท่านเป็นพระที่ดีจังเลย เป็นนาบุญของเรา แล้วเราก็ทำบุญพอทำปุ๊บเราไม่ได้มองเรื่องวัดแล้วว่า วัดจน หรือวัดรวย

แต่เรามองที่พระที่ท่านอยู่วัด ท่านเป็นพระที่เป็นเนื้อนาบุญให้เรา เราก็ทำ พอทำปุ๊บบุญก็เกิดเนื่องจากว่าท่าน เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม 

ทีนี้สมมติว่าพระท่านเอาปัจจัยที่เราถวายไปทำบุญ ไปใช้จ่ายข้าวของเครื่องใช้ หรือท่านอาจจะเป็นคนสมถะเรียบง่ายท่านก็อยู่แบบนั้นไป

มันก็ไม่ใช่เรื่องของความจน ความรวย และความน่าสงสาร แต่เป็นเรื่องความรู้สึกของพระที่อยากจะอยู่แบบเงียบๆ สงบๆ แบบนั้น 

ดังนั้นการที่คนมองเห็นภาพลักษณ์ว่า วัดนี้รวย วัดนี้จน จึงเป็นภาพที่เราตัดสินโดยที่เราไม่ได้มองถึง ผู้ที่จะเป็นนาบุญ ให้เรา.! 

อยากได้บุญแบบ

วัดพระธรรมกาย


อย่างหลวงพี่ยกตัวอย่าง เอ๊ะ .. ทำไมวัดพระธรรมกายคนถึงมาทำบุญเยอะ .!

ก็คนเขามาเห็นเขาก็อาจจะรู้สึกว่า ฮู้.. พระวัดนี้ถูกจริตเนาะ อาจจะรู้สึกว่าท่านเคร่งครัดดีนะ ท่านเทศนาดีนะ ท่านสอนท่านทำงานพระศาสนานะ เราอยากจะสนับสนุนท่าน เราอยากได้บุญตรงนี้กับท่าน ก็ได้บุญแบบที่คุณคิดว่าอยากจะได้


พระเอาตังค์เยอะๆ 

ไปทำอะไร ..


ในเมื่ออยู่แบบเรียบง่าย ฉันฟรีเพราะบิณฑบาตมา.?

หลวงพี่ไม่สามารถจะตอบแทนพระทั้งหมดได้ เพราะเราไม่รู้ว่าท่านใช้จ่ายอะไรบ้าง แต่ถ้าถามแบบเอาตัวหลวงพี่ มีโยมถวายปัจจัยไหม ..ก็มี ..หลวงพี่ก็รับ เมื่อรับแล้วเอาไปทำอะไร.? 

เราก็ทำบุญ..ส่วนหนึ่งคือทำบุญแน่ๆ ส่วนที่เหลือก็ว่ากันไปว่ามีอะไรที่จำเป็นจะต้องใช้จ่าย.!


ทำไมเป็นพระแล้ว

ยังต้องทำบุญ.?


ก็เรายังไม่หมดกิเลส.!

พระสามารถทำบุญได้หลายรูปแบบ แต่หากเจาะจงลงไปที่ การทำทาน อย่างของพระกันเองคือการเผื่อแผ่ เช่น ไปบิณฑบาตมาได้อาหารมาเยอะๆ เอาไปแบ่งปันเพื่อนๆ อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นทานอย่างหนึ่ง

ถ้ามีโยมถวายเป็นปัจจัยมา แล้ววัดต้องใช้จ่ายเพราะฉะนั้นเราเองก็เห็นว่า วัดนี้ก็เป็นแหล่งบุญเหมือนกันหลวงพี่ก็เป็น สมมติสงฆ์ ไม่ใช่ อริยสงฆ์ ที่เหาะเหินเดินอากาศได้ เราก็ยังต้องการบุญ 

เพราะบุญเป็นเบื้องหลังของความสำเร็จ 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า..ท่านมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ก็เพราะอำนาจของบุญ เพราะฉะนั้น
หมายความว่าถ้าบุญไม่พอเราก็หมดกิเลสไม่ได้เราก็ ถามตัวเองสิ ..เราหมดกิเลสหรือยัง .?  

ถ้าก็ยัง..แสดงว่าเราก็ต้องทำบุญ.! 

เพราะฉะนั้นเมื่อเราต้องการบุญ เราจะต่างอะไรกับญาติโยม เพียงแต่ว่า เราก็ทำเท่าที่มี

เราอยากจะเอาบุญ เพราะเรารู้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นแหล่งของบุญ เราก็ไปทำในที่ที่เราคิดว่าเราจะได้บุญ เพราะฉะนั้นพอคิดแบบนี้ปุ๊บ เราก็จะไม่มีความคิดว่า..

วัดนั้นรวย วัดนี้จนอยู่ในใจ อย่างนี้จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง



บทสัมภาษณ์ฉบับสมบูรณ์
คลิกเพื่อรับชมวีดีโอ วัดนี้รวยแล้ว


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
Fbภาพดีๆ 072
เพจเรื่องเล่าเข้าใจธรรม
https://www.facebook.com/talkgetdham/

เผยศาสตร์ในการทำบุญ..ให้ได้ผลทั้งวัดจน และวัดรวย Quote เรื่องเล่าเข้าใจธรรม เผยศาสตร์ในการทำบุญ..ให้ได้ผลทั้งวัดจน และวัดรวย Quote เรื่องเล่าเข้าใจธรรม Reviewed by สารธรรม on 07:21 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.