จดหมายเหตุปฏิรูปสงฆ์ จับสึกได้ จับเงินไม่ได้
ในการออกมาตรการต่างๆ ของรัฐ ยอมต้องมีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย.!
ตามหลักการบริหารจัดการที่ดีและมี “ธรรมาภิบาล” ต้องคำนึงถึง “ผู้มีส่วนได้เสีย” (Stakeholder)
ซึ่งก็คือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือมาตรการนั้นๆ
กรณีเรื่อง
พระจับเงินได้หรือไม่.?
พระครอบครองทรัพย์ได้หรือไม่.?
แต่ปรากฏว่า...
พระส่วนใหญ่ในสังฆมณฑล ไม่ได้มีโอกาสได้พูดแสดงความคิดเห็น หรือชี้แจงสภาพความเป็นจริง ทั้งๆ ที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
ท่ามกลางสังคมที่ ทุกอย่างมีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็น
ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถ ค่าเรือ
ค่าลงทะเบียนเรียน
ค่าเครื่องเขียน และอุปกรณ์การเรียน
ค่าหนังสือเรียน ค่าหนังสือธรรมะ
ค่าหนังสือพระไตรปิฎก
ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล
ค่าถ่ายเอกสารการประชุมคณะสงฆ์
แม้กระทั่งงานศพญาติโยมก็มีค่าใช้จ่ายสารพัด
แต่ปรากฏว่า...
ผู้ได้โอกาสที่ออกมาพูดกลับเป็นแค่เพียง “ผู้เป็นห่วง”1 คน
เป็นนักกฎหมาย ล่าสุดได้ฉายาว่า เป็นอรหันต์กูเกิล เพราะไม่เคยบวชสักพรรษาแต่อ้างว่าอ่านธรรมะจากกูเกิล (Google) อยากปฏิรูปการคณะสงฆ์ อยากจะเป็น สว. แต่เขาก็ไม่รับเข้าวงเข้าพวก
1 คน
เป็นอดีตพระ แต่บวชอยู่ต่อไปไม่ได้ จะเป็นนักวิชาการ เขียนหนังสือออกมาก็ไม่ได้รับการยอมรับ จะเข้าสู่วงการเมืองก็ไม่ประสบความสำเร็จ สถานะตอนนี้คือ “ล่องลอย ”
1 คน
มนุษย์ป้า เป็นนักบรรยายธรรมที่ไม่อยู่ในเพศภาวะของนักบวช แต่วิจารณ์พระสงฆ์องค์เจ้าสาดเสียเทเสียตลอดมา
1 คน
เป็นข้าราชการ ที่โดยสถานะต้องทำหน้าที่รับใช้ มส.และคณะสงฆ์ แต่ตอนนี้สถาปนาฐานะตนเป็น “ผู้สังหารจัดการ” คณะสงฆ์เสียเอง
ทั้งๆ ที่ ธรรมวินัย ที่ระบุไว้ทุกคนทราบมา 2,600 กว่าปี แล้ว
ทั้งๆ ที่ สังคม ได้ปรับรูปแบบมาตั้งแต่สมัย ร.4-5-6 แล้ว
ทั้งๆ ที่ มันคนละเรื่อง ระหว่าง
เงินทอนวัด ที่เริ่มต้นจากเจ้าหน้าที่สำนักพุทธฯ เองที่ โยกงบมาถวายพระ
กับการรับเงิน หรือปัจจัยของพระ เพื่ออำนวยความสะดวกในยุคปัจจุบัน
วันนี้คณะสงฆ์จึงตั้งคำถามด้วยความสงสัยว่า...
รัฐกำลังทำอะไร ?4 คนนี้กำลังทำอะไร ?
และเหตุผลที่แท้จริงคืออะไร ?
บทความโดย ภัยบุญ
ขอบคุณภาพประกอบจาก
http://www.madchima.org
จดหมายเหตุปฏิรูปสงฆ์ จับสึกได้ จับเงินไม่ได้
Reviewed by สารธรรม
on
01:04
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: